ของที่ได้รับยกเว้นอากร
ตาม พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลการ พ.ศ. 2530
ภาค 4 |
ภาค 4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร
พ.ศ. 2530 เป็นภาคที่ว่าด้วย การยกเว้นอากร ของที่นำเข้า มาในราชอาณาจักร
หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ด้วยเหตุดังต่อไปนี้
1. วัตถุประสงค์ในการนำของนั้นเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
2. ฐานะพิเศษของบุคคลหรือนิติบุคคลของผู้นำของนั้นเข้ามาหรือส่งของนั้นออก
ไปนอกราชอาณาจักร
3. สภาพและ/หรือฐานะการใช้งานของของที่นำเข้ามาหรือส่งออกไป
ของที่นำเข้าหรือส่งออกตามภาค 4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร
พ.ศ. 2530 นอกจากจะได้รับ ยกเว้นอากรขาเข้า และ อากรขาออก ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนด
พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 แล้ว ยังไม่ต้องชำระ ภาษีมูลค่าเพิ่ม
เนื่องจากได้รับยกเว้น ตามมาตรา 81(2)(ค)(สำหรับการนำเข้า) และ ตามมาตรา
80/1(1) และ 83(สำหรับการส่งออก) แห่งประมวลรัษฏากร ตลอดจนได้รับ ยกเว้นภาษีสรรพสามิต
ตาม มาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ด้วย
ของที่ได้รับยกเว้นอากรตาม ภาค 4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร
พ.ศ. 2530
แบ่งออกเป็น 18 ประเภท เป็นการ ยกเว้นอากรขาเข้า 15 ประเภท , ยกเว้นอากรขาออก
1 ประเภท และ ยกเว้นอากรทั้งขาเข้าและขาออก 2 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 ของที่ส่งออก รวมทั้งของที่ส่งกลับออกไป ซึ่งนำกลับเข้ามาภายใน
1 ปี โดยไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะหรือรูปร่างแต่ประการใด และในเวลาที่ส่งออกนั้นได้รับใบสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามาแล้ว
ทั้งนี้อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจที่จะ ผ่อนผันใบสุทธินำกลับและ
ขยายกำหนดเวลาให้ได้
ประเภทที่ 2 ของที่นำเข้ามาในประเทศไทยซึ่งได้เสียอากรไว้ครบถ้วนแล้วและภายหลังส่งกลับออกไปซ่อม
ณ ต่างประเทศ หากนำกลับเข้ามาภายใน 1 ปี หลังจากได้รับใบสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามาซึ่งได้ออกให้ในขณะที่ได้ส่งออกแล้ว
ทั้งนี้ ให้ได้รับยกเว้นเพียงเท่าราคาหรือปริมาณแห่งของเดิม ที่ส่งออกไปเท่านั้น
สำหรับราคาหรือปริมาณที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการซ่อมให้เสียอากรตามพิกัดอัตราอากรของของเดิมที่ส่งออกไปซ่อม
โดยคำนวนจากราคาหรือปริมาณที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการขนส่งและการประกันภัย
อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจที่จะ ผ่อนผันใบสุทธินำกลับและขยายกำหนดเวลาให้ได้
ประเภทที่ 3 ของที่นำเข้ามาพร้อมกับตนหรือนำเข้ามาเป็นการชั่วคราวและจะส่งกลับออกไปภายในไม่เกิน
6 เดือนนับแต่วันที่นำเข้า เช่น ของที่ใช้ในการแสดงละคร ของที่นำเข้ามาแสดงในงาน
นิทรรศการ โดยจะต้องแสดงหลักฐานให้เป็นที่พอใจว่านำเข้ามาใช้ประโยชน์ในกิจการตามที่
อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด
ประเภทที่ 4 รางวัลและเหรียญตราที่ทางต่างประเทศมอบให้บุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักร
ประเภทที่ 5 ของส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้เองหรือใช้ในวิชาชีพ
และมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะ ยกเว้น รถยนต์ อาวุธปืน และกระสุนปืน และเสบียง
แต่สำหรับ สุรา บุหรี่ ซิการ์ หรือยาเส้น ยกเว้นอากรให้หากไม่เกินปริมาณที่กำหนดดังนี้
ก) บุหรี่ 200 มวน หรือซิการ์ หรือยาเส้น อย่างละ 250 กรัม หรือหลายชนิดรวมกัน
250กรัม
ข) สุรา 1 ลิตร
|